คณะภราดาเซนต์คาเบรียล ได้กำเนิดและดำเนินการสอนสืบเนื่องมา โดย นักบุญหลุยส์ มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต ได้สถาปนาขึ้นในปี ค.ศ. 1705 (พ.ศ. 2248) มีจุดหมายแรกเริ่มที่จะสอนให้เยาวชนอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น และมีหลักศาสนา เป็นแนวทางให้ประพฤติตนเป็นคนดี นักบุญหลุยส์ มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต เป็นนักบุญผู้ยิ่งใหญ่องค์หนึ่งของประเทศฝรั่งเศส เกิดในครอบครัวคาทอลิก เมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1673 (พ.ศ. 2216) ที่เมืองมงฟอร์ตซูเมอร์ (Le Montfort Sur3Meu) ณ บ้านเลขที่ 15 ถนนลู เดอลา โซลเนรี (Rue de La Saulnerie) บิดาชื่อยีนบับติสต์ กรีญอง มารดาชื่อ ยีน โรแบรต์ กรีญอง เป็นชาวฝรั่งเศส เมื่อหลุยส์กรีญอง เติบโตขึ้น ได้ใช้พระนาม “มารีย์” ของแม่ พระเสริมชื่อเข้าไปด้วย เพราะท่านมีความศรัทธาต่อแม่พระมาก ต่อเมื่อได้รับศีลล้างบาปที่เมืองมงฟอร์ตจึงใช้นามเต็มว่า “หลุยส์ มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต” (หลุยส์ มารีย์ กรีญอง แห่งเมือง มงฟอร์ต) บิดาของท่านมีอาชีพทนายความ มีฐานะยากจน ท่านมีพี่น้องรวม 18 คน เป็นขาย 8 คน หญิง 10 คน พี่ชายของหลุยส์เสียชีวิตเมื่ออายุได้ 5 เดือน ดังนั้นหลุยส์จึงกลายเป็นบุตรคนโตของครอบครัวในวัยเด็กท่านใช้ชีวิตอยู่ในหมู่บ้านบัว-มาร์เกร์ (Bois-Mar-Quer) หลุยส์รักพ่อแม่และน้อย ๆ ทุกคนมาก ท่านช่วยมารดาทำงานสารพัด ท่านเป็นนักเรียนที่เอาจริงเอาจังกับการเรียน และสอบได้เป็นที่หนึ่งของชั้นเสมอเมื่อเรียนจบหลุยส์ได้เข้าเรียนในบ้านเณรเพื่อเตรียมตัวเป็นพระสงฆ์ หลังจากที่ท่านได้ศึกษาอยู่ในสามเณราลัยอยู่ 8 ปี ก็ได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1700 (พ.ศ.2243) ที่ไบสถ์แซงต์ซูลปีซ (St.Sulpice Seminary) ในกรุงปรารีสเมื่ออายุได้ 27 ปีพ่อหลุยส์ได้อุทิศชีวิตของท่านด้วยการเทศนาสั่งสอน ให้คนที่ประพฤติตนไม่ดี ได้กลับใจเป็นคนดี ทั้งยังช่วยเด็ก ๆ ที่ยากจน ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน การที่พ่อหลุยส์ทำงานอย่างหนัก โดยไม่คำนึงถึงสุขภาพของตนเอง จึงทำให้ท่านล้มป่วยลงหลายครั้ง จนในที่สุดท่านก็ได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ.1716 (พ.ศ.2259) อายุของท่านในขณะนั้นเพียง 43 ปี 3 เดือนเท่านั้น
ชีวิตของนักบุญหลุยส์ เป็นชีวิตที่ถวายแด่พระเป็นเจ้าโดยสิ้นเชิง (God Alone) ความศรัทธาภักดีต่อแม่พระและพระเยซูเจ้า เข้าใจคุณค่าและความหมายของกางเขนที่เห็นได้เป็นรูปธรรมคือแสดงออกทางความคิด วาจา และการกระทำ ชีวิตของท่านเปี่ยมด้วย
คำว่า “บราเดอร์” หรือ “ภราดา” มาจากภาษาอังกฤษว่า “Brother” แปลว่า พี่ชาย หรือ น้องชาย เราถือว่าผู้ที่ถวายตัวเป็นผู้รับใช้พระเป็นเจ้าในพระศาสนจักรนั้น ต่างก็เป็นพี่น้องกันเปรียบเสมือนครอบครัวเดียวกันในทางศาสนา หรือ “ภราดา” คือนักบวชที่ได้ปฏิญาณตนต่อหน้าอธิการเจ้าคณะและพระศาสนาจักรที่เป็นตัวแทนของพระเป็นเจ้า จะถือความยากจน ความบริสุทธิ์ความนบนอบ สำหรับภราดาในคณะเซนต์คาเบรียล คือบุคคลที่ได้ปฏิญาณตน เพื่อ
ท่านนักบุญหลุยส์ มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต (Saint Louis-Marie Grignion de Montfort) ได้สถาปนา นักบวชคณะเซนต์คาเบรียลขึ้น ณ เมืองแซงต์ ลอรังต์ ชู แซฟร์ (St.Laurent-Sur-Sevre) มณฑลวังเดย์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2259 นักบวชในคณะนี้ได้เดินทางเข้ามาสู่ประเทศไทยเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2444 ภราดาคณะเซนต์คาเบรียล ที่เดินทางจากประเทศฝรั่งเศสมาประเทศไทยในครั้งนี้มี 5 ท่านด้วยกัน คือ 1. เจษฎาธิการ มาร์ติน เดอ ตูรส์ 2. เจษฎาจารย์ อาแบล 3. เจษฎาจารย์ ออกูสต์ 4. เจษฎาจารย์ คาเบรียล เฟร์เรต์ตี 5. เจษฎาจารย์ ฟรังชัว ฮีแลร์ ทั้งนี้ เพื่อมาดำเนินงานการบริหารและการสอนที่โรงเรียนอัสสัมชัญกรุงเทพฯ ซึ่งท่านบาทหลวงเอมิล กอลมเบต์ ได้ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2428 และได้ยกโรงเรียนนี้ให้คณะเซนต์คาเบรียลเข้ามาดำเนินการต่อ คณะภราดาเซนต์คาเบรียลจึงได้เริ่มฝังรกรากในประเทศไทยตั้งแต่บัดนี้ การดำเนินงานการสอนในลักษณะทุ่มเทชีวิตจิตใจของคณะภราดาในโรงเรียนอัสสัมชัญทำให้ชาวไทยบัง เกิดความศรัทธาต่อวิธีการฝึกอบรมนักเรียนของคณะภราดาอย่างกว้างขวางได้มีการเรียกร้องให้สร้างโรงเรียนเพิ่มขึ้น ผู้มีจิตศรัทธาหลายท่านได้บริจาคที่ดินและให้การสนับสนุนแก่คณะภราดาทางด้านต่าง ๆ จึงมีการสร้างโรงเรียนขึ้นอีกหลายแห่งทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ได้แก่ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล (พ.ศ.2462) โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ.2475) โรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา (พ.ศ.2485) โรงเรียนเซนต์หลุยส์ จังหวัดฉะเชิงเทรา (พ.ศ.2491) เป็นต้น ภราดาที่ดำเนินงานในโรงเรียนดังกล่าวนี้ นอกจากจะเดินทางมาจากประเทศฝรั่งเศสและประเทศสเปนแล้ว ได้มีกุลบุตรชาวไทยอุทิศตนบวชเพื่อรับใช้พระศาสนาจำนวนเพิ่มขึ้นตามลำดับ งานให้การศึกษาแก่เยาวชนไทยของคณะภราดาได้เจริญรุ่งเรือง จนเป็นที่ยอมรับของสังคมไทยเป็นอย่างสูง จนถึงปัจจุบันนี้คณะภราดาเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยมีสถาบันการศึกษาถึง 17 สถาบัน รวมทั้งโรงเรียนอัสสัมชัญลำปางของเราด้วย
นักบวชในคณะภราดาเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย มีเฉพาะนักบวชผู้ชายเท่านั้น เรียกทั่วไปว่า “บราเดอร์” (Brother) บราเดอร์ทุกท่านมีศีลเป็นหลักในการดำเนินชีวิตที่สำคัญที่สุดอยู่ 3 ประการ ดังต่อไปนี้คือ
19/1 ถ.มงฟอร์ต ต.ท่าศาลา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000
19/1 ถ.มงฟอร์ต ต.ท่าศาลา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000
19/1 ถ.มงฟอร์ต ต.ท่าศาลา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000
โทรศัพท์ 0 5324 5572-5
โทรสาร 0 5324 5571
(เบอร์ภายใน)
[email protected]
ปฏิทินวัดผลการศึกษา
19/1 ถ.มงฟอร์ต ต.ท่าศาลา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000
โทรศัพท์ 0 5324 5572-5
โทรสาร 0 5324 5571
(เบอร์ภายใน)
[email protected]